เทศบาลตำบลเวียงต้า call ข้อมูลการติดต่อ

เทศบาลตำบล
เวียงต้า
อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่
check_circle สถานที่ท่องเที่ยว
วัดต้าเวียง
วัดต้าเวียง ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ 3 ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณกาล ตำนานการสร้างพระธาตุ เมื่อครั้งเมืองต้า ยังเป็นชุมชนเล็กๆ บริเวณนี้เป็นป่าดงดิบที่รก เป็นที่อยู่ของของสัตว์ ขณะนั้นมีพวกทำไม้ชาวพม่า และชาวเงี้ยวมาตั้งปางช้างอยู่บริเวณลำห้วยแม่ต้า บริเวณนี้ร่มรื่นเหมาะที่จะเป็นที่พักของคนงานควาญช้าง อยู่มาวันหนึ่งมีพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระชัยลังกา ได้เดินธุดงค์มาถึงบริเวณนี้ เห็นสถานที่ร่มรื่นจึงขอพักแรมบริเวณใกล้ๆ ปางช้างพวกทำไม้ เมื่อนั่งสมาธิเป็นว่าบริเวณนี้สงบ ปราศจากเหตุร้ายจากสัตว์ป่า จึงมีความคิดว่าสมควรที่จะเป็นที่ตั้งอารามหรือสำนักสงฆ์ จึงขอบิณฑบาตบริเวณนี้จากพวกตัดไม้ให้ย้ายปางไปตั้งที่อื่น พวกตัดไม้ก็ยินดียกบริเวณนี้ให้ จากนั้นพระชัยลังกา ได้เชิญชาวเวียงต้าประมาณ 10 ครัวเรือน มาช่วยกันสร้างพระเจดีย์ โดยชาวบ้านได้ช่วยกันขุดหลุมเป็นอุโมงค์ เพื่อบรรจุของมีค่า คือทองคำแท่งและแก้วเจ็ดสี และพระบรมธาตุลงไป พร้อมกับสร้างเจดีย์ครอบอุโมงค์ นี้ไว้ จึงเรียกว่าพระธาตุอุโมงค์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระชัยลังกาก็จำพรรษาอยู่ที่นี่ ข่าวการบรรจุทองคำแท่งไว้ในอุโมงค์ใต้ฐานเจดีย์ ทำให้พวกโจรหาทางขโมยขุดเจาะเอาทองคำแท่งและลูกแก้วเจ็ดสี พระชัยลังกา เห็นว่าขืนอยู่ที่นี่ต่อไปจะมีอันตรายถึงชีวิต จึงย้ายออกจากสำนักสงฆ์ แห่งนี้ไปอย่างไร้ร่องรอย พวกโจรจึงพากันมาขุดเจาะฐานพระเจดีย์ ขณะที่พวกโจรขุดเจาะเข้าไป ได้เกิดปาฎิหารบังเกิดลมพายุ ฝนฟ้าคะนอง มือฟ้ามัวดินฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากอย่างรุนแรง พวกโจรตกใจต่างพากันหนีเอาตัวรอด แต่ยังมีโจรอีกที่ไม่ละความพยายามได้พากันขุดเจาะฐานเจดีย์อีก ก็เกิดปาฎิหาริย์ เหมือนครั้งแรกจากนั้นไม่มีพวกโจรคิดจะขุดเจาะฐานพระเจดีย์อีกเลย วัดและเจดีย์นี้กลายเป็นวัดร้างมานานกว่า 70 ปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2431 ชาวเวียงต้า คิดจะบูรณปฏิสังขรณ์ วัดต้าเวียงเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เพราะเป็นวัดเก่าแก่ ส่วนวัดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นวัดร้าง ไม่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ จึงได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ต่อมาชาวบ้านพากันไปอาราธนาพระอาจารย์ศรีบุตร ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ มาเป็นองค์ประธานในการสร้างอุโบสถ และพระเจดีย์ โดยได้ช่างจากพระพม่าและเงี้ยวมาเป็นช่างในการก่อสร้างโบสถ์ และเจดีครอบกับเจดีย์องค์เดิมที่ชำรุดไป เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ชาวเวียงต้าได้ไปอาราธนาหลวงพ่ออุปะทะ วัดศรีดอนชัย จังหวัดลำปาง มาเป็นเจ้าอาวาส ขณะนั้นเมืองต้ายังขึ้นอยู่กับจังหวัดลำปาง ประเพณีของวัดต้าเวียง - ประเพณีต๋านก๋วยสลาก จะมีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 (เดือน 12 เหนือ) เป็นการทำบุญที่ชาวบ้านถือว่าได้อานิสงส์มากเพราะเป็นการทำบุญที่ไม่เจาะจงกับพระสงฆ์รูปใด และได้อุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับแล้ว และมีขบวนฟ้อนนำขบวนครัวตาน(ของที่จะนำไปถวาย) ของหมู่บ้านและหน่วยงานในพื้นที่ร่วม เพื่อแสดงความสามัคคีและสืบสานประเพณี - งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุต้าเวียง จะมีในเดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ (เหนือ) (เดือน 6 เป็ง) เป็นประจำทุกปี

วัดต้าเวียง










วัดต้าแป้น
วัดต้าแป้น สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2487 โดยได้ย้ายจากวัดสบปุง ซึ่งตั้งอยู่ทิศเหนือของหมู่บ้านประมาณครึ่ง กิโลเมตรเป็นวัดเก่าแก่ประมาณ 500 ปี สมัยเมืองต้าโบราณของชาวไทยลั๊ว วัดสบปุงอยู่ห่างไกลหมู่บ้าน การเดินทางลำบาก ชาวบ้านจึงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นใหม่ เป็นวัดต้าแป้นปัจจุบัน วัดต้าแป้น มีพระเจ้าแสนตอง เป็นพระพุทธรูปสร้างในสมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย หนักตักกว้าง 23 นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระเกศา 38 นิ้ว หล่อด้วยสัมฤทธิ์ น้ำหนักหนึ่งแสนตำลึง จึงมีชื่อเรียกว่า “แสนตอง” ในสมัยก่อนพระพุทธเจ้าแสนตองประดิษฐานอยู่ที่วัดสบปุง ชาวบ้านประมีประเพณีสรงน้ำพระเจ้าแสนตองในวันวิสาขบูชา (เดือนแปดเป็ง) ของทุกปี เป็นประเพณีสรงน้ำพระที่แตกต่างจากที่อื่นที่สรงในวันขึ้นปีใหม่ (วันสงกรานต์ 15 เมษายน) ดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกวันสรงน้ำพระเจ้าแสนตองว่า “ปีใหม่สบปุง” เพราะวันนั้น จะทำพิธีและกิจกรรมต่างๆ คล้ายกับวันสรงน้ำพระในวันพญาวันปีใหม่ทุกประการ ต่อมาวัดสบปุงได้กลายเป็นวัดร้างแต่พระเจ้าแสนตองยังประดิษฐานอยู่ที่เดิม ต่อมาได้มีการสร้างวัดที่วัดต้าแป้นจึงได้นำพระเจ้าแสนตองมาประดิษฐานไว้ที่วัดต้าแป้น จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทุกปี บริเวณวัดต้าแป้นมีภูเขาไม่สูงมากสามารถเดินขึ้นไปกราบไหว้พระธาตุและพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาและในบริเวณนั้น และยังมีถ้ำแห่งหนึ่งชื่อ ถ้ำผาหัว ให้เดินสำรวจและขึ้นไปชมทิวทัศน์ของหมู่บ้านได้ ประเพณีวัดต้าแป้น ในวัน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เดือน 8 เหนือ) ตรงกับวัน วิสาขบูชา จะมีประเพณีสรงน้ำพระเจ้าแสนตอง เป็นประเพณีท้องถิ่น คือ ปี๋ใหม่สบปุง นับว่าเป็นประเพณีที่เก่าแก่มีการอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ ให้สืบต่อไป

วัดต้าแป้น











วัดต้าม่อน
วัดต้าม่อน ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 3 ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ สร้างขึ้นเมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ. 2445 โดยชาวเวียงต้าที่มาทำไม้ในป่าแม่ต้า สร้างวิหารเป็นไม้สักทองทั้งหลังตามแบบอย่างเงี้ยว คือมีหลังคาทรงสูง เป็นชั้นๆ โดยได้ช่างฝีมือดีจากเชียงตุง ภายในวิหารด้านข้างทั้งสองได้วาดภาพนิทานชาดก 2 เรื่อง คือ เจ้าก่ำกาดำ กับเจ้ารัตนะแสงเมืองหลงถ้ำ โดยหนานบัวผัน ชาวไทลื้อ ที่อพยพมาจากเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนา เข้ามาที่จังหวัดน่าน เป็นผู้วาดภาพด้วยสีฝุ่น เป็นชุดที่วาดภาพนิทานชาดก เรื่อง คัทธนกุมาร เนมิราช และภาพพุทธประวัติ ที่วัดภูมินทร์ เป็นช่างชุดเดียวกัน เป็นแหล่งกำเนิดของนิยายรักอมตะของ เจ้าฮ้อยหลวงและเจ้าคำป้อ เจ้าหญิงแห่งเมืองน่าน ผู้สร้างตำนานจิตรกรรมเวียงต้า แหล่งกำเนิดของชาดกเจ้าก๋ำกาดำ รวมถึง ภาพวาด อินายสีเว่ย หรือภาพโมนาลิซ่าเมืองไทย อันลือเลื่องทั่วดินแดนล้านนา ต่อมาวิหารได้ชำรุด และไม่มีงบประมาณมาซ่อมแซมชาวบ้านจึงได้มอบให้กับศูนย์วัฒนธรรม จ.เชียงราย และได้สร้างวิหารหลังใหม่แทน ต่อปี พ.ศ. 2562 หมู่ที่ 3 ตำบลเวียงต้าได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านนวัตวิถีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ได้ก่อสร้างหอคำขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิมให้มากที่สุดจากภาพถ่ายที่มีอยู่ ณ วัดต้าม่อน ในผนังหอคำมีจิตรกรรมฝาผนัง “แม่นางสีเวย” เป็นภาพที่แสดงถึงความงามแบบพื้นบ้านสาวงามล้านนาที่หนานบัวผันได้ใช้เป็นแบบวาดขึ้น และนอกจากนั้นยังมีภาพวาดพ่อเฒ่าแสนภิรมย์ และนายสิทธิสอน เป็นบุคคลที่นับถือจึงได้วาดขึ้นเป็นที่ระลึกในสมัยนั้น และข้างในหอคำจะมีจิตรกรรมฝาผนังนิทานธรรมะ ที่สวยงาม ต่อมาวิหารได้ชำรุด และไม่มีงบประมาณมาซ่อมแซมชาวบ้านจึงได้มอบให้กับศูนย์วัฒนธรรม จ.เชียงราย เมื่อปี พ.ศ.2532 และได้สร้างวิหารขึ้นใหม่ภาพจิตรกรรมได้อยู่ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2562 หมู่ที่ 3 ตำบลเวียงต้าได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านนวัตวิถีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ได้ก่อสร้างหอคำขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิมให้มากที่สุด ณ วัดดต้าม่อน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน - มีพื้นที่ใกล้วัดเป็นแหล่งน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำซับ” หรือ น้ำซับเณรน้อย คือเป็นที่ น้ำผุด แต่มีขนาดใหญ่กว่าปกติและต่อมาชาวบ้านได้ทำเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในหมู่บ้าน เป็นแหล่งน้ำที่ไหลออกมาตลอดปีไม่ขาดสาย ในพื้นที่ตรงกลางเหมือนเป็นเกาะ - วัดต้าม่อนมีพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์คือพระพุทธรูปแสนหวาย เป็นพระพุทธรูปที่ทำด้วยหวายทั้งองค์ นำมาลงรักปิดทองได้อย่างสวยงาม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูง 2 ศอกครึ่ง น้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม และในปี พ.ศ. 2522 ได้สร้างพระธาตุอีก 1 องค์ ในวัดเพื่อให้ประชาชนได้สักการะ

วัดต้าม่อน












ถ้ำเสรีไทย
เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นถ้ำที่ในอดีตเคยถูกใช้เป็นฐานปฏิบัติการลับขบวนการเสรีไทย ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลเวียงต้า ซึ่งในพื้นที่จะอยู่กึ่งกลางระหว่างตำบลเวียงต้า กับอำเภอหนองม่วงไข่ ถ้ำเสรีไทยอยู่บนเขาผาบ่อง ลักษณะของถ้ำเป็นโพรงลึกเข้าไปในภูเขา ในถ้ำมีทางแยกเป็นหลายทาง มีธารน้ำไหล มีหินงอกหินย้อยเปล่งแสงระยิบระยับ ปากถ้ำอยู่บนหน้าผาสูงประมาณ 15 เมตร มองจากหน้าถ้ำจะมีทิวทัศน์ที่สวยงามช่วงนี้เป็นฤดูฝนหลังฝนตกก็จะมีหมอกปกคลุมบนเขา ในปัจจุบันด้านล่างถ้ำมีวัดป่าถ้ำเสรีไทยคีรีบรรบต ตั้งอยู่มีการปรับภูมิทัศน์ทำให้มีธรรมชาติที่สวยงาม

ถ้ำเสรีไทย















ถ้ำแอร์
เส้นทางหลวงชนบท สาย เวียงต้า – หนองม่วงไข่ ตั้งอยู่ระหว่างบ้านเหล่าศรีภูมิ หมู่ที่ 8 กับบ้านแป้น หมู่ที่ 1 ตำบลเวียงต้า ถ้ำจะตั้งอยู่ซ้ายมือ ก่อนเข้าหมู่บ้านหมู่ที่ 1 บริเวณหน้าถ้ำจะมีลมพัดตลอดและรู้สึกเย็นเหมือนอยู่ในห้องแอร์

ถ้ำแอร์




ศาลเจ้าพ่อผาลาย
เมื่อเข้ามาถึงเขตตำบลเวียงต้าจะพบกับศาลเจ้าพ่อผาลายเป็นแห่งแรกศาลเจ้าพ่อผาลายเป็นที่เคารพนับถือของชาวตำบลเวียงต้า เพราะเชื่อว่าจะคุ้มครองให้ปลอดภัยทุกสิ่ง

ศาลเจ้าพ่อผาลาย



info_outline อำนาจหน้าที่ / วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
หน้าที่และอํานาจตามกฎหมายของเทศบาลตําบลเวียงต้า
หน้าที่และอํานาจตามกฎหมายของเทศบาลตําบลเวียงต้า 1. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ (1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (2) ให้มีและบํารุงทางบกและทางน้ำ (2/1) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริม สนับสนุน หน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว (3) รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง (6) จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก (7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (8) บํารุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของทั้งถิ่น (9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ (1) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา (2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์ (3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม (4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน (5) บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร (6) ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ (7) ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (8) ให้มีและบํารุงทางระบายน้ำ (9) เทศพาณิชย์ 2. พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (1) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (2) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (4) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ (5) การสาธารณูปการ (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (9) การจัดการศึกษา (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (11) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันของท้องถิ่น (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (13) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (14) การส่งเสริมกีฬา (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (18) การกําจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (22) การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณอื่น ๆ (24) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (25) การผังเมือง (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ (28) การควบคุมอาคาร (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

ภารกิจของเทศบาล
๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้ (๑) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ (๒) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (๓) การสาธารณูปการ (๔) การควบคุมอาคาร (๕) การผังเมือง (๖) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา (๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (๘) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร ๒. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) การจัดการศึกษา (๒) การส่งเสริมกีฬา (๓) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (๔) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อยมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) การักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (๒) การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (๓) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (๔) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (๕) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๔. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชกรรม และการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากิจของราษฎร (๒) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ (๓) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (๔) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ๕. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (๒) การดูแลที่สาธารณะ (๓) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย ๖. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนะธรรมอันดีของท้องถิ่น ๗. ด้านการบริหารจัดการและสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (๑) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง (๒) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (๓) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ภารกิจทั้ง ๗ ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจเทศบาลสามารถจะแก้ไขปัญหาของเทศบาล ได้โดยการจัดทำแผนพัฒนากำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานแต่ละด้านให้เป็นไปตาม ความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาอำเภอฯ แผนพัฒนาจังหวัด นโยบายรัฐบาลและนโยบายของผู้บริหารเทศบาล

อำนาจหน้าที่
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ (๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง (๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม (๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ (๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (๙) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

วิสัยทัศน์
เวียงต้าน่าอยู่ ความรู้ทันสมัย ใส่ใจทรัพย์กรธรรมชาติ ส่งเสริมวัฒนธรรม พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจแบบพอเพียง * เวียงต้าน่าอยู่ เป็นตำบลทีี่มีความสงบ เรียบร้อย สะอาด สะดวก สวยงาม สามัคคี สมบูรณ์และทุกคนที่ส่วนร่วม * ความรู้ทันสมัย การศึกษามีความครอบคลุมทั่วถึง อุปกรณ์การเรียน การสอน ทันยุค ทันสมัย ให้คุณภาพการศึกษาได้มาตรฐาน * ใส่ใจทรัพย์กรธรรมชาติ มีการบริหารทรัพยากรธรรมชาติที่ดี เพื่อให้มีการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์มากที่สุดทั้งทรัพยากร ดิน น้ำ และป่าไม้ * ส่งเสริมวัฒนธรรม มีการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมที่งดงามและทรงคุณค่า มาแต่อดีต ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของตำบลเวียงต้า * พัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง มีความปลอดภัยจากพาหะนำโรคต่างๆ มีความครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชน เข้มแข็ง และปลอดยาเสพติด * เศรษฐกิจแบบพอเพียง มีการดำรงชีวิตของประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาการเกษตร มีการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้

insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลเวียงต้า
ที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ 45 หมู่ที่ 3 บ้านม่อน ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ห่างจากอำเภอลอง ประมาณ 36 กิโลเมตร เนื้อที่ เนื้อที่ของตำบลเวียงต้าทั้งหมดประมาณ 283 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 176,887 ไร่ ภูมิประเทศ ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเอียงตามหุบเขา ไหล่เขาและภูเขา พื้นที่ราบจะทำนาปี ซึ่งโอกาสที่น้ำท่วมมีน้อย เพราะไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน ทุกหมู่บ้านของตำบลจะล้อมรอบด้วย ภูเขาและป่าไม้ แหล่งน้ำธรรมชาติภายในตำบล มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ลำห้วย หนอง น้ำ ซึ่งกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ ห้วยแม่ต้า ห้วยแม่แหลง ห้วยแม่ทะ ห้วยผาแป้น ห้วยคอกหมู ห้วยผาลาย ห้วยสบแมง และห้วยแม่ตุ้ม สำหรับแหล่งน้ำในหมู่บ้านยังใช้ประโยชน์ได้ไม่ตลอดปีส่วนใหญ่จะแห้งและตื้นเขินในฤดูแล้ง อาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ทิศใต้ ติดกับตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอ หนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านในเขต เทศบาลตำบลเวียงต้า มี 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1บ้านแป้น หมู่ที่ 6 บ้านผาลาย หมู่ที่ 2 บ้านเหล่า หมู่ที่ 7 บ้านหัวฝาย หมู่ที่ 3 บ้านม่อน หมู่ที่ 8 บ้านเหล่าศรีภูมิ หมู่ที่ 4 บ้านน้ำดิบ หมู่ที่ 9 บ้านสันติสุข หมู่ที่ 5 บ้านแหลง หมู่ที่ 10 บ้านแสนทอง จำนวนประชากร ชาย หญิง รวม ครัวเรือน หมู่ที่ 1 บ้านแป้น 265 248 513 181 หมู่ที่ 2 บ้านเหล่า 497 515 1,012 341 หมู่ที่ 3 บ้านม่อน 451 401 852 290 หมู่ที่ 4 บ้านน้ำดิบ 163 179 342 112 หมู่ที่ 5 บ้านแหลง 304 303 607 198 หมู่ที่ 6 บ้านผาลาย 216 174 390 121 หมู่ที่ 7 บ้านหัวฝาย 190 183 373 100 หมู่ที่ 8 บ้านเหล่าศรีภูมิ 620 595 1,215 352 หมู่ที่ 9 บ้านสันติสุข 375 377 752 264 หมู่ที่ 10 บ้านแสนทอง 337 321 658 201 รวม 3,418 3,296 6,714 2,162 สภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพ เกษตรกร 70 % รับจ้าง 20 % รับราชการ 5 % อื่น ๆ 5 หน่วยธุรกิจในเขต เทศบาล ปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง โรงสี 13 แห่ง สภาพทางสังคม การศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา(ขยายโอกาส) 1 แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา วัด 5 แห่ง สำนักสงฆ์ 3 แห่ง โบสถ์ 1 แห่ง สาธารณสุข สถานีอนามัยประจำตำบล 2 แห่ง - สถานีอนามัยเวียงต้า - สถานีอนามัยต้าเหล่า อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สถานีตำรวจภูธรตำบล 1 แห่ง - สถานีตำรวจภูธรเวียงต้า การบริการพื้นฐาน การคมนาคม ตำบลเวียงต้ามีการคมนาคมติดต่อกับอำเภอ จังหวัด จำนวน 3 เส้นทาง คือ - ถนนสายเวียงต้า – น้ำริน – อำเภอลอง ระยะทาง 36 กิโลเมตร เป็น ถนน ลาดยาง - ถนนสายเวียงต้า – น้ำริน – จังหวัดแพร่ ระยะทาง 46 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง - ถนนสายเวียงต้า – บ้านแป้น – อำเภอหนองม่วงไข่ ระยะทาง 20 กิโลเมตร การโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชน 1 แห่ง การไฟฟ้า - จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 10 หมู่บ้าน - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 99 % แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ ลำห้วย 8 แห่ง ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ - ป่าไม้ - แหล่งน้ำซับ - ภูเขาหิน - ถ้ำ