messager
 
เทศบาลตำบลเวียงต้า call ข้อมูลการติดต่อ

เทศบาลตำบล
เวียงต้า
อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่
folder ข้อมูลท่องเที่ยว
ผลการสำรวจข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว poll
เผยแพร่วันที่ : 23 สิงหาคม 2565 | เปิดอ่าน : pageview86

check_circle สถานที่ท่องเที่ยว
วัดต้าเวียง
วัดต้าเวียง ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ 3 ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณกาล ตำนานการสร้างพระธาตุ เมื่อครั้งเมืองต้า ยังเป็นชุมชนเล็กๆ บริเวณนี้เป็นป่าดงดิบที่รก เป็นที่อยู่ของของสัตว์ ขณะนั้นมีพวกทำไม้ชาวพม่า และชาวเงี้ยวมาตั้งปางช้างอยู่บริเวณลำห้วยแม่ต้า บริเวณนี้ร่มรื่นเหมาะที่จะเป็นที่พักของคนงานควาญช้าง อยู่มาวันหนึ่งมีพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระชัยลังกา ได้เดินธุดงค์มาถึงบริเวณนี้ เห็นสถานที่ร่มรื่นจึงขอพักแรมบริเวณใกล้ๆ ปางช้างพวกทำไม้ เมื่อนั่งสมาธิเป็นว่าบริเวณนี้สงบ ปราศจากเหตุร้ายจากสัตว์ป่า จึงมีความคิดว่าสมควรที่จะเป็นที่ตั้งอารามหรือสำนักสงฆ์ จึงขอบิณฑบาตบริเวณนี้จากพวกตัดไม้ให้ย้ายปางไปตั้งที่อื่น พวกตัดไม้ก็ยินดียกบริเวณนี้ให้ จากนั้นพระชัยลังกา ได้เชิญชาวเวียงต้าประมาณ 10 ครัวเรือน มาช่วยกันสร้างพระเจดีย์ โดยชาวบ้านได้ช่วยกันขุดหลุมเป็นอุโมงค์ เพื่อบรรจุของมีค่า คือทองคำแท่งและแก้วเจ็ดสี และพระบรมธาตุลงไป พร้อมกับสร้างเจดีย์ครอบอุโมงค์ นี้ไว้ จึงเรียกว่าพระธาตุอุโมงค์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระชัยลังกาก็จำพรรษาอยู่ที่นี่ ข่าวการบรรจุทองคำแท่งไว้ในอุโมงค์ใต้ฐานเจดีย์ ทำให้พวกโจรหาทางขโมยขุดเจาะเอาทองคำแท่งและลูกแก้วเจ็ดสี พระชัยลังกา เห็นว่าขืนอยู่ที่นี่ต่อไปจะมีอันตรายถึงชีวิต จึงย้ายออกจากสำนักสงฆ์ แห่งนี้ไปอย่างไร้ร่องรอย พวกโจรจึงพากันมาขุดเจาะฐานพระเจดีย์ ขณะที่พวกโจรขุดเจาะเข้าไป ได้เกิดปาฎิหารบังเกิดลมพายุ ฝนฟ้าคะนอง มือฟ้ามัวดินฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากอย่างรุนแรง พวกโจรตกใจต่างพากันหนีเอาตัวรอด แต่ยังมีโจรอีกที่ไม่ละความพยายามได้พากันขุดเจาะฐานเจดีย์อีก ก็เกิดปาฎิหาริย์ เหมือนครั้งแรกจากนั้นไม่มีพวกโจรคิดจะขุดเจาะฐานพระเจดีย์อีกเลย วัดและเจดีย์นี้กลายเป็นวัดร้างมานานกว่า 70 ปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2431 ชาวเวียงต้า คิดจะบูรณปฏิสังขรณ์ วัดต้าเวียงเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เพราะเป็นวัดเก่าแก่ ส่วนวัดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นวัดร้าง ไม่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ จึงได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ต่อมาชาวบ้านพากันไปอาราธนาพระอาจารย์ศรีบุตร ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ มาเป็นองค์ประธานในการสร้างอุโบสถ และพระเจดีย์ โดยได้ช่างจากพระพม่าและเงี้ยวมาเป็นช่างในการก่อสร้างโบสถ์ และเจดีครอบกับเจดีย์องค์เดิมที่ชำรุดไป เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ชาวเวียงต้าได้ไปอาราธนาหลวงพ่ออุปะทะ วัดศรีดอนชัย จังหวัดลำปาง มาเป็นเจ้าอาวาส ขณะนั้นเมืองต้ายังขึ้นอยู่กับจังหวัดลำปาง ประเพณีของวัดต้าเวียง - ประเพณีต๋านก๋วยสลาก จะมีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 (เดือน 12 เหนือ) เป็นการทำบุญที่ชาวบ้านถือว่าได้อานิสงส์มากเพราะเป็นการทำบุญที่ไม่เจาะจงกับพระสงฆ์รูปใด และได้อุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับแล้ว และมีขบวนฟ้อนนำขบวนครัวตาน(ของที่จะนำไปถวาย) ของหมู่บ้านและหน่วยงานในพื้นที่ร่วม เพื่อแสดงความสามัคคีและสืบสานประเพณี - งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุต้าเวียง จะมีในเดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ (เหนือ) (เดือน 6 เป็ง) เป็นประจำทุกปี

วัดต้าเวียง










วัดต้าแป้น
วัดต้าแป้น สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2487 โดยได้ย้ายจากวัดสบปุง ซึ่งตั้งอยู่ทิศเหนือของหมู่บ้านประมาณครึ่ง กิโลเมตรเป็นวัดเก่าแก่ประมาณ 500 ปี สมัยเมืองต้าโบราณของชาวไทยลั๊ว วัดสบปุงอยู่ห่างไกลหมู่บ้าน การเดินทางลำบาก ชาวบ้านจึงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นใหม่ เป็นวัดต้าแป้นปัจจุบัน วัดต้าแป้น มีพระเจ้าแสนตอง เป็นพระพุทธรูปสร้างในสมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย หนักตักกว้าง 23 นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระเกศา 38 นิ้ว หล่อด้วยสัมฤทธิ์ น้ำหนักหนึ่งแสนตำลึง จึงมีชื่อเรียกว่า “แสนตอง” ในสมัยก่อนพระพุทธเจ้าแสนตองประดิษฐานอยู่ที่วัดสบปุง ชาวบ้านประมีประเพณีสรงน้ำพระเจ้าแสนตองในวันวิสาขบูชา (เดือนแปดเป็ง) ของทุกปี เป็นประเพณีสรงน้ำพระที่แตกต่างจากที่อื่นที่สรงในวันขึ้นปีใหม่ (วันสงกรานต์ 15 เมษายน) ดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกวันสรงน้ำพระเจ้าแสนตองว่า “ปีใหม่สบปุง” เพราะวันนั้น จะทำพิธีและกิจกรรมต่างๆ คล้ายกับวันสรงน้ำพระในวันพญาวันปีใหม่ทุกประการ ต่อมาวัดสบปุงได้กลายเป็นวัดร้างแต่พระเจ้าแสนตองยังประดิษฐานอยู่ที่เดิม ต่อมาได้มีการสร้างวัดที่วัดต้าแป้นจึงได้นำพระเจ้าแสนตองมาประดิษฐานไว้ที่วัดต้าแป้น จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทุกปี บริเวณวัดต้าแป้นมีภูเขาไม่สูงมากสามารถเดินขึ้นไปกราบไหว้พระธาตุและพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาและในบริเวณนั้น และยังมีถ้ำแห่งหนึ่งชื่อ ถ้ำผาหัว ให้เดินสำรวจและขึ้นไปชมทิวทัศน์ของหมู่บ้านได้ ประเพณีวัดต้าแป้น ในวัน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เดือน 8 เหนือ) ตรงกับวัน วิสาขบูชา จะมีประเพณีสรงน้ำพระเจ้าแสนตอง เป็นประเพณีท้องถิ่น คือ ปี๋ใหม่สบปุง นับว่าเป็นประเพณีที่เก่าแก่มีการอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ ให้สืบต่อไป

วัดต้าแป้น











วัดต้าม่อน
วัดต้าม่อน ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 3 ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ สร้างขึ้นเมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ. 2445 โดยชาวเวียงต้าที่มาทำไม้ในป่าแม่ต้า สร้างวิหารเป็นไม้สักทองทั้งหลังตามแบบอย่างเงี้ยว คือมีหลังคาทรงสูง เป็นชั้นๆ โดยได้ช่างฝีมือดีจากเชียงตุง ภายในวิหารด้านข้างทั้งสองได้วาดภาพนิทานชาดก 2 เรื่อง คือ เจ้าก่ำกาดำ กับเจ้ารัตนะแสงเมืองหลงถ้ำ โดยหนานบัวผัน ชาวไทลื้อ ที่อพยพมาจากเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนา เข้ามาที่จังหวัดน่าน เป็นผู้วาดภาพด้วยสีฝุ่น เป็นชุดที่วาดภาพนิทานชาดก เรื่อง คัทธนกุมาร เนมิราช และภาพพุทธประวัติ ที่วัดภูมินทร์ เป็นช่างชุดเดียวกัน เป็นแหล่งกำเนิดของนิยายรักอมตะของ เจ้าฮ้อยหลวงและเจ้าคำป้อ เจ้าหญิงแห่งเมืองน่าน ผู้สร้างตำนานจิตรกรรมเวียงต้า แหล่งกำเนิดของชาดกเจ้าก๋ำกาดำ รวมถึง ภาพวาด อินายสีเว่ย หรือภาพโมนาลิซ่าเมืองไทย อันลือเลื่องทั่วดินแดนล้านนา ต่อมาวิหารได้ชำรุด และไม่มีงบประมาณมาซ่อมแซมชาวบ้านจึงได้มอบให้กับศูนย์วัฒนธรรม จ.เชียงราย และได้สร้างวิหารหลังใหม่แทน ต่อปี พ.ศ. 2562 หมู่ที่ 3 ตำบลเวียงต้าได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านนวัตวิถีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ได้ก่อสร้างหอคำขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิมให้มากที่สุดจากภาพถ่ายที่มีอยู่ ณ วัดต้าม่อน ในผนังหอคำมีจิตรกรรมฝาผนัง “แม่นางสีเวย” เป็นภาพที่แสดงถึงความงามแบบพื้นบ้านสาวงามล้านนาที่หนานบัวผันได้ใช้เป็นแบบวาดขึ้น และนอกจากนั้นยังมีภาพวาดพ่อเฒ่าแสนภิรมย์ และนายสิทธิสอน เป็นบุคคลที่นับถือจึงได้วาดขึ้นเป็นที่ระลึกในสมัยนั้น และข้างในหอคำจะมีจิตรกรรมฝาผนังนิทานธรรมะ ที่สวยงาม ต่อมาวิหารได้ชำรุด และไม่มีงบประมาณมาซ่อมแซมชาวบ้านจึงได้มอบให้กับศูนย์วัฒนธรรม จ.เชียงราย เมื่อปี พ.ศ.2532 และได้สร้างวิหารขึ้นใหม่ภาพจิตรกรรมได้อยู่ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2562 หมู่ที่ 3 ตำบลเวียงต้าได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านนวัตวิถีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ได้ก่อสร้างหอคำขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิมให้มากที่สุด ณ วัดดต้าม่อน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน - มีพื้นที่ใกล้วัดเป็นแหล่งน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำซับ” หรือ น้ำซับเณรน้อย คือเป็นที่ น้ำผุด แต่มีขนาดใหญ่กว่าปกติและต่อมาชาวบ้านได้ทำเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในหมู่บ้าน เป็นแหล่งน้ำที่ไหลออกมาตลอดปีไม่ขาดสาย ในพื้นที่ตรงกลางเหมือนเป็นเกาะ - วัดต้าม่อนมีพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์คือพระพุทธรูปแสนหวาย เป็นพระพุทธรูปที่ทำด้วยหวายทั้งองค์ นำมาลงรักปิดทองได้อย่างสวยงาม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูง 2 ศอกครึ่ง น้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม และในปี พ.ศ. 2522 ได้สร้างพระธาตุอีก 1 องค์ ในวัดเพื่อให้ประชาชนได้สักการะ

วัดต้าม่อน












ถ้ำเสรีไทย
เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นถ้ำที่ในอดีตเคยถูกใช้เป็นฐานปฏิบัติการลับขบวนการเสรีไทย ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลเวียงต้า ซึ่งในพื้นที่จะอยู่กึ่งกลางระหว่างตำบลเวียงต้า กับอำเภอหนองม่วงไข่ ถ้ำเสรีไทยอยู่บนเขาผาบ่อง ลักษณะของถ้ำเป็นโพรงลึกเข้าไปในภูเขา ในถ้ำมีทางแยกเป็นหลายทาง มีธารน้ำไหล มีหินงอกหินย้อยเปล่งแสงระยิบระยับ ปากถ้ำอยู่บนหน้าผาสูงประมาณ 15 เมตร มองจากหน้าถ้ำจะมีทิวทัศน์ที่สวยงามช่วงนี้เป็นฤดูฝนหลังฝนตกก็จะมีหมอกปกคลุมบนเขา ในปัจจุบันด้านล่างถ้ำมีวัดป่าถ้ำเสรีไทยคีรีบรรบต ตั้งอยู่มีการปรับภูมิทัศน์ทำให้มีธรรมชาติที่สวยงาม

ถ้ำเสรีไทย















ถ้ำแอร์
เส้นทางหลวงชนบท สาย เวียงต้า – หนองม่วงไข่ ตั้งอยู่ระหว่างบ้านเหล่าศรีภูมิ หมู่ที่ 8 กับบ้านแป้น หมู่ที่ 1 ตำบลเวียงต้า ถ้ำจะตั้งอยู่ซ้ายมือ ก่อนเข้าหมู่บ้านหมู่ที่ 1 บริเวณหน้าถ้ำจะมีลมพัดตลอดและรู้สึกเย็นเหมือนอยู่ในห้องแอร์

ถ้ำแอร์




ศาลเจ้าพ่อผาลาย
เมื่อเข้ามาถึงเขตตำบลเวียงต้าจะพบกับศาลเจ้าพ่อผาลายเป็นแห่งแรกศาลเจ้าพ่อผาลายเป็นที่เคารพนับถือของชาวตำบลเวียงต้า เพราะเชื่อว่าจะคุ้มครองให้ปลอดภัยทุกสิ่ง

ศาลเจ้าพ่อผาลาย